25 สิงหาคม 2563

ยุค5G/6G

                                                            ยุค 5G/6G

 5G คืออะไร?

  • ตอบสนองไวขึ้น สามารถสั่งงาน และควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที เนื่องจากมีความหน่วงที่ต่ำ ตอบสนองได้ไวถึง 1 ส่วนพันวินาที
  • รองรับการ รับ-ส่ง ข้อมูลได้มากกว่า ถ้าเป็น 4G จะสามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลได้ราว 7.2 Exabytes ต่อเดือน แต่สำหรับ 5G จะเพิ่มขึ้นราว 7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน
  • เร็วแรงกว่าเดิม 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 20 เท่า ซึ่งเร็วมากพอที่จะดูวิดีโอ 8K ออนไลน์แบบ 3 มิติ หรือดาวน์โหลดภาพยนตร์ 3 มิติ ได้ในภาย 6 วินาที
  • ความถี่ให้เลือกใช้มากกว่า 5G จะสามารถใช้งานคลื่นความถี่ได้จนถึง 30GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน
  • รองรับการใช้งานที่มากกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.



ประโยชน์ของ 5G

สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย

นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน  ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ  และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ในอนาคต 

6G คืออะไร?

                 Xiaomi กำลังพัฒนา 6G และอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม | Flashfly Dot Net

6G เทคโนโลยีที่จีนกำลังเริ่มพัฒนา

6G เทคโนโลยีที่จีนกำลังเริ่มพัฒนา / โดย ลงทุนแมน

ในขณะที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังจะเริ่มมีการใช้ 5G

แต่รู้หรือไม่ว่า ณ ปัจจุบันนี้ จีนได้เริ่มการพัฒนาเทคโนโลยี 6G ไปแล้ว

เทคโนโลยี 5G คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ในปัจจุบันมีความเร็วที่ 10 ถึง 20 เท่า

ด้วยความเร็วระดับนี้ เทคโนโลยี 5G จะรองรับการนำไปใช้กับเทคโนโลยีใหม่ๆ

อย่างรถยนต์ไร้คนขับ และ เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง ที่จะเหมือนจริงยิ่งกว่าในปัจจุบัน

หากบอกว่า นี่คือเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าแล้ว

คงต้องบอกว่า..ในอนาคตเรากำลังจะมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ล้ำหน้ามากกว่าเดิมและมีประสิทธิภาพที่รวดเร็วกว่าเดิมและนั่นคือ เทคโนโลยี 6G

แล้ว 6G คืออะไร?

แม้จะยังอยู่ในช่วงพัฒนาแต่ก็มีการคาดการณ์กันว่า ความเร็วของ 6G จะเร็วกว่า 5G ถึง 8,000 เท่าซึ่งให้ความเร็วได้ถึง 8,000 Gigabit ต่อวินาทีถ้าให้พูดง่ายๆ คือเราจะสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์รวมกันยาว 142 ชั่วโมง ได้ภายในเวลา 1 วินาทีเท่านั้น…ซึ่งด้วยความเร็ว ณ ระดับนี้จึงทำให้มีการคาดการณ์กันว่า เทคโนโลยี 6G จะถูกนำมาใช้กับ อุปกรณ์ที่เราสามารถสั่งงานได้ผ่านสมองของเรา โดยที่เราไม่ต้องพิมพ์ หรือพูดอีกต่อไป

มีการคาดการณ์กันว่า เราจะสามารถใช้ 6G ได้ในปี 2030หรืออีกประมาณ 10 ปีข้างหน้าอ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าเราลองมองย้อนกลับไปโลกของเราได้สร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาครั้งแรก ในปี 1980เราเรียกสิ่งนั้นว่า 1G (First Generation)ยุคระบบสื่อสารแบบแอนะล็อก ซึ่งโทรศัพท์จะมีขนาดใหญ่มาก และมีการใช้เพื่อการโทรเข้าและออกเท่านั้น

ปี 1990

2G (Second Generation) ยุคที่การส่งข้อมูลเปลี่ยนจากแอนะล็อก มาเป็นดิจิทัล ยุคที่คนเริ่มใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และ ยุคที่โทรศัพท์สามารถใช้ในการรับส่งข้อความตัวอักษร

ปี 2000

3G (Third Generation) ยุคที่เริ่มมีการนำไปใช้กับ Smartphone ยุคที่การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คนสามารถทำได้ง่ายขึ้นและมีข้อจำกัดลดลง เนื่องจาก 3G ช่วยให้มีการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น และหลากหลายมากขึ้น เช่น ไฟล์วิดีโอ

ปี 2008

4G (Fourth Generation) ยุคที่การรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเร็วมากยิ่งขึ้น และมีการใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า จาก 1G มาถึง 6Gโลกของเราได้สร้างการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไว้มากมายในตอนนั้นเราก็คงไม่คิดมาก่อนว่าเทคโนโลยีจะนำพาโลกของเรามาถึงจุดนี้เคยมีคำกล่าวเอาไว้ว่าทุกสิ่งที่มนุษย์จินตนาการได้ สุดท้ายแล้วมนุษย์จะสามารถสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาได้จริงๆดังนั้น ไม่ว่าเราจะจินตนาการอะไรอยู่ตอนนี้ในที่สุด มันก็น่าจะกลายเป็นจริงในที่สุด

รวมไปถึงเทคโนโลยีที่เรียกว่า 6G.


3.2 Big data

 

Big Data คือ สำคัญอย่างไรในยุคปัจจุบัน ?

Big Data คือ

 

ig Data (บิ๊ก ดาต้า) คือ

Big Data คือ ?? | ในยุคปัจจุบันที่โลกและธุรกิจกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล จนทำให้คำว่า Big Data มีผู้คนสนใจและเป็น Trend ที่กำลังมามาแรงอย่างมาก และเชื่อว่าหลายๆ คนที่ทำงานอยู่ในวงการไอที หรือสายงานอื่นๆก็ตาม ก็คงได้ยินคำว่า Big Data ผ่านหูกันมาบ้างแล้ว เคยเกิดความสงสัยกันบ้างไหมว่า Big data มันคืออะไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายๆ กันครับ

Big Data คือ 

บิ๊กดาต้า (Big Data) คือคำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิดที่อยู่ในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า Suppliers พฤติกรรมผู้บริโภค Transaction ไฟล์เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปจนถึง รูปภาพ URLs ลิงค์ต่างๆที่คุณเก็บไว้ ฯลฯ ที่มีปริมาณมากจนกระทั่งซอฟต์แวร์ปกติทั่วไปไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลหรือประมวลผลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

ซึ่งอีกนัยนึง Big Data คือเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมหรือ Platform ไอทีรุ่นใหม่ ซึ่งอาจมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ ที่สามารถรองรับการจัดเก็บ การจัดการ กรองเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ แสดงผล และการใช้งานข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

คุณลักษณะของ Big Data (4V)

 

 

  1. ที่มีปริมาณมาก (Volume) ปัจจัยข้อแรกแน่นอนว่าคำว่า Big Data มีคำว่า “Big” นั่นก็คือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป
  2. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ส่งผ่านข้อมูล Update กันอย่างต่อเนื่อง (Real-time) จนทำให้การวิเคราะห์ง่ายๆแบบ Manual เกิดข้อจำกัด หรือไม่สามารถจับรูปแบบหรือทิศทางของข้อมูลได้
  3. หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) หมายถึงรูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร วิดีโอ รูปภาพ ไฟล์ต่างๆ ฯลฯ และหลากหลายแหล่งที่มาเช่น Social Network หรือ Platform E- Commerce ต่างๆ
  4. ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) ยังไม่ผ่านการ Process ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่สามารถใช้สร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้ 

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ที่มีคุณลักษณะข้างต้นนี้ ในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีเครื่องมือมารองรับและจัดการ หรือยังไม่เคยนำมารวมกันเพื่อตั้งโจทย์ที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจ ค้นหาผลลัพธ์ และผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลและดูความสัมพันธ์กันด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดเป็นข้อมูลที่สามารถใช้งานได้จริง (Information) และเกิดประโยชน์กับธุรกิจ เมื่อบริษัทมีข้อมูลที่พร้อมและมีประโยชน์ ทำให้กระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น


Big Data ช่วยให้คุณสามารถใช้ข้อมูลจากทุกแหล่งที่เป็นไปได้ และวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้น (Customer Insight) ลดต้นทุนได้ ลดเวลาระยะเวลาดำเนินการ และสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น


งานครั้งที่2 ข้อมูลมีคุณค่า

ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ (Information Age)
ในยุคของข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการคมนาคม การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม ทำให้การนำข้อมูลมาใช้ไม่สะดวก ไม่ทันกาล สูญหายง่าย
การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (digitization) และการพัฒนาการของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้ทุกที่ทุกเวลา
แผนที่กระดาษในรูปแบบเดิม ไม่สามารถแสดงข้อมูลการจราจรที่เป็นปัจจุบัน และไม่สามารถวางแผนการเดินทางได้ แต่ระบบแผนที่นำทาง (Global Positioning System: GPS) นอกจากแสดงสถานที่ต่างๆ แล้ว ยังมีข้อมูลสภาพการจราจร ระยะเวลาเดินทาง ซึ่งมีความแม่นยำ ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายImage for post
ในปัจจุบัน เราไม่เป็นเพียงผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสร้างข้อมูลดิจิทัลด้วยเช่นกันการอัพโหลดรูปภาพส่วนตัว การส่งอีเมล์ในแต่ละวัน การโพสต์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ การส่งต่อข้อความผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้ ผู้ใช้คนอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้จัดได้ว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่มีความสำคัญ แต่หากข้อมูลที่มีอยู่ไม่ได้ถูกนำมาประมวลผล ก็จะไม่เกิดคุณค่าใดๆ ดังคำกว่าที่ว่า “ข้อมูลนั้นมีค่าดั่งน้ำมันดิบ”
Image for post

บริษัทต่างๆ นำข้อมูลดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ทำให้เกิดมูลค่ามหาศาล เช่น บริษัทให้บริการจองโรงแรมที่พัก แท็กซี่ ขายสินค้าออนไลน์ และบริการสื่อสังคม (social media)

เฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นบริษัทให้บริการสื่อสังคม มีผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่สามารถสร้างรายได้จากการขายโฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย (user-targeted advertisements) ของบริษัทสินค้าและบริการ

Image for post

  • เฟซบุ๊ก รวบรวมข้อมูลผู้ใช้ เช่น เพศ อายุ ที่อยู่ อาชีพ รวมถึงพฤติกรรมการใช้งานที่ผู้ใช้กระทำผ่านเฟซบุ๊ก ได้แก่ การกดไลค์ (like) กดแชร์ (share)
  • เฟซบุ๊ก นำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลเป็นสารสนเทศที่บอกคุณลักษณะของผู้ใช้ และใช้สารสนเทศนี้ในการนำเสนอหรือโฆษณาสินค้าหรือบริการ
  • บริษัทเจ้าของสินค้าหรือบริการ จะจ่ายค่าโฆษณาให้กับเฟซบุ๊ก เช่น บริษัทธุรกิจรถยนต์ ธนาคาร อาหาร-เครื่องดื่ม โทรศัพท์มือถือ ร้านค้า เกมออนไลน์

การนำข้อมูลดิจิทัลที่มีอยู่มหาศาลมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ความรู้ทางด้านวิทยาการข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญ และอาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญ เป็นอาชีพที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคของข้อมูลและสารสนเทศนี้

Image for post

https://medium.com@pruksanant.poj/ข้อมูลมีคุณค่า-วิทยาการคำนวณ-ม-5-b43df8f2cf0e

 

งานครั้งที่3

 Data Science by Barton 1 แนะนำ Data Science | by NUTHDANAI ...

วิทยาการข้อมูล (Data science) 
    ความหมายของวิทยาการข้อมูล
วิทยาการข้อมูลหรือวิทยาศาสตร์ข้อมูล หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กระบวนการตาม วงจรข้อมูล ได้แก่ การค้นหา การรวบรวม การตรวจสอบ การจัดการ/การแปลง การนำ เสนอ และการสงวนรักษาข้อมูล โดยบูรณการความรู้ด้านคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และธุรกิจอัจฉริยะ และใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้ ของเครื่อง และอัลกอรึทึม เพื่อสกัดความหมายที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล ค้นพบข้อมูล และพยากรณ์หรือคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในองค์กรและการตัดสินใจ
    วิทยาการข้อมูลเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการค้นพบคุณค่าในข้อมูลเพื่อนำ ไปใช้ประโยชน์ การเรียนการสอนจึงอาจ ต้องสอนรายวิชาด้านการบริหารและการจัดการควบคู่ไปด้วย โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้สอนด้านบริหารธุรกิจเพื่อสอน รายวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทักษะการจัดการข้อมูล การคิดอย่างเป็นระบบ ทักษะภาวะผู้นำ ทักษะการสื่อสาร ความรู้ทางธุรกิจ และการจัดการโครงการ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างประสบการณ์การโครงการบริหารข้อมูลตามสถานการณ์จริง รวมถึงควร ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐบาลในการใช้ข้อมูล โครงการ และทรัพยากรที่มีอยู่จริงในการฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูล
    วิทยาการข้อมูลและสารสนเทศศาสตร์เป็นสหวิทยาการที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและสารสนเทศตามวงจรข้อมูลและสารสนเทศ วิทยาการข้อมูลศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นพบคุณค่าที่ซ่อนอยู่และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ สารสนเทศศาสตร์ศึกษาการจัดการสารสนเทศตามวงจรสารสนเทศเพื่อเตรียมพร้อมใช้งาน ทั้ง 2 ศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ได้ในหลายสาขาวิชา เช่น การบริหารธุรกิจ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น บทความนี้กล่าวถึงความหมาย ขอบเขต การประยุกต์ของวิทยาการข้อมูลและสารสนเทศศาสตร์ รวมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่าง และความเกี่ยวข้องกันของวิทยาการข้อมูลและสารสนเทศศาสตร์

  

ตัดต่อวีดีโอ